วัดป่านาคําน้อย ศาสนสถานที่อุดมไปด้วยธรรมชาติ

วัดป่านาคำน้อย หรือ วัดอุดมมงคลวนาราม ตั้งอยู่ จ.อุดรธานี วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลากชนิด รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ภายในวัดเป็นสถานปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์อินทร์

วัดป่าราคำน้อยถวาย สนฺตุสฺสโก ลูกศิษย์เอกของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ วัดแห่งนี้เป็นวัดป่าสายธรรมยุต โดยมีพระป่าซึ่งปฏิบัติตามคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นจำนวนมาก

วัดป่านาคำน้อย แรกเริ่มเดิมทีชื่อ วัดอุดมมงคลวนาราม ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับการประทานมาจากหลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน แต่ทางราชการมีความเห็นว่าควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านจะดีกว่า จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ‘วัดนาคำน้อย’ ในปัจจุบัน

วัดป่านาคำน้อย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนสถานวันที่  13 มิถุนายน พ.ศ.2529 โดยสภาพก่อนจะมาเป็นวัด ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ซึ่ง ณ ขณะนั้นกำลังจำพรรษอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ได้บังเอิญธุดงค์เดินผ่านมาและเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้  มีสภาพทรุดโทรม อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สีชมพู ซึ่งอยู่ในเขตความเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงเกิดความว่าสมควรได้รับการฟื้นฟูทั้งทางรูปธรรม และทางธรรม ต่อมาท่านได้ธุดงค์มาอีกรอบหนึ่งในปี พ.ศ. 2523 สำหรับในครั้งนี้  ได้ธุดงค์มาปักกลดบริเวณต้นสะท้อน ริมห้วย จึงคิดว่าน่าจะมีการก่อสร้างวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ท่านจึงชวนพุทธศาสนิกชน รวมทั้งหมู่เพื่อนพุทธบริษัท มาร่วมกันก่อสร้างเพื่อเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน

สภาพป่าภายในอาณาเขตวัด เป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีขนาดกว้างขวาง 600  ไร่ ต่อมาก็ได้รับการปลูกเพิ่มเติมเพื่อความร่มรื่น เช่นไม้สัก  , ประดู่ , มะค่า , ยาง , ตะเคียนทอง  เป็นต้น  ปัจจุบันได้ปลูกเพิ่มจนเต็มพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าภายในวัดอีกด้วย เพราะพื้นที่แห่งนี้แรกเริ่มเดิมทีมันเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่  เช่น หมูป่า , กระรอก , ลิง , ชะนี , งูจงอาง, เหี้ย , กระจง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน รับสัญญาณมาจากสถานีแม่ ณ วัดป่าบ้านตาด ขนาดคลื่นความถี่  107.25  MHZ  ครอบคลุมในหลายพื้นที่ หลายจังหวัด ได้แก่ อ.บ้านผือ , น้ำโสม , นายูง , สุวรรณคูหา , สังคม รวมทั้งจังหวัดเลยบางอำเภอ สำหรับการเปิดอบรมพระภิกษุ,สามเณร รวมทั้งญาติโยมที่ต้องการมาหาความสวบในจิตใจ ได้จัดกิจกรรมทุกปีทั้งในหน้าแล้ง , หน้าฝน รวมถึงฤดูจำพรรษา เมื่อเปิดรับทุกๆครั้งก็จะมีอุบาสก-อุบาสิกา เดินทางมาจำศีล  ภาวนาประมาณ  100  คน